ศิษย์เก่า CRS Mahidol
- ++ อาร์โน ++
- สวัสดีครับ ผมชื่ออาร์โนครับ ผมเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงที่ผมได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น เพื่อนๆ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ผมได้ช่วยแก้ไขเสมอ บางครั้งผมก็รู้วิธีแก้บ้างไม่รู้บ้าง แต่ผมยินดีที่จะช่วยเหลือเพื่อนๆ มาโดยตลอด แต่ต้องขอบคุณเพื่อนๆ ที่นำโจทย์ปัญหามาให้ผมแก้ ทำให้ผมต้องใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์มากขึ้น ดังนั้น เพื่อนๆ และผู้ที่ขอความช่วยเหลือเป็นดั่งครูของผมเสมอ เพราะแต่ละคนก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป ทำให้ผมก็มีโอกาสได้เจอกับปัญหาที่หลากหลายเช่นกัน และทำให้ผมได้รู้วิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายตามไปด้วย หลังจากที่ผมเรียนจบแล้ว ผมก็คงไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนๆ ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจสร้าง Blog ส่วนตัวอันนี้ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า rnocrs วัยรัส วัยรัก ทำไม ต้องเป็นชื่อนี้ด้วย ก็เพราะว่า เนื้อหาของบล็อกนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับเรื่องการแก้ปัญหาไวรัส กับความรัก ตามจริงแล้วเรื่องเกี่ยวกับความรักผมไม่ค่อยได้เน้นเท่าไรนัก แต่ผมตระหนักเสมอว่า คน เราต้องมีรักมาเติมเต็มหัวใจ เพื่อให้มีกำลังใจในการทำสิ่งต่างๆ อีกมากมาย ความสุขนั้น ผมได้รับตั้งแต่ผมคิดที่จะเขียนบทความดีๆ ให้ทุกคนได้เข้ามาอ่านแล้วหล่ะครับ ขอบคุณครับที่ เข้ามาแวะชมบทความของผม
ฝากข้อความถึงอาร์โน
วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554
ทำไมนักเรียนนักศึกษาไทยจึงพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้
เคยคิดเหมือนผมใหมครับว่า ในเมื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษก็มีมานานแล้วในระบบการศึกษาของประเทศไทย แต่ทำไมเราจึงพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะได้กัน ทั้งๆที่ทุกวันนี้ ภาษาอังกฤษควรจะเป็นภาษาที่สองของเราได้แล้ว คือพูดง่ายๆ ภาษาอังกฤษน่าจะเป็นอีกภาษาหนึ่งที่เราพูดได้ฟังรู้เรื่องเหมือนกับที่เราฟังพูดภาษาไทย ในมุมมองของผมนะครับผมคิดว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาไทยของเราพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะได้กันนั้น มีหลายเหตุปัจจัยด้วยกัน แต่ที่เด่นชัดมากที่สุดน่าจะเป็นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของระบบการศึกาษาไทยเรานั้นสอนผิดธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ คือ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเรานั้น จะเริ่มจากการให้เราเขียนก่อน แล้วก็อ่าน อ่านแล้วค่อยพูด แล้วจึงฟัง ในทางกลับกันผมเห็นว่า จริงๆ แล้วเราควรจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยเริ่มจากการฟังก่อนเป็นอันดับแรก ถามว่าทำไมต้องเริ่มจากการฟังด้วย หากเรายังจำกันได้มีหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาอยู่ข้อหนึ่งที่ผมจำขึ้นใจคือ สุ จิ ปุ ลิ สุ หมายถึง การฟัง จิ หมายถึง เมื่อฟังแล้วเราคิดตาม ปุ หมายถึง เมื่อเราคิดตามแล้วเกิดความสงสัยเราก็ถาม ลิ หมายถึง เมื่อเราได้คำตอบแล้ว ป้องกันการลืมเราก็ควรที่จะเขียนบันทึกไว้ (สำหรับ ลิ หากมองอีกแง่หนึ่ง ไม่ได้หมายถึง การเขียนบันทึกอย่างเดียว แต่อาจรวมถึงการจดจำวไว้ในสมอง หรือจิตสำนึกของเราด้วย)
อย่างไรก็ตาม เราอาจจะงง ว่าทำไมหลักธรรมเหล่านี้มาเกี่ยวข้องอะไรกับ การเรียนภาษาอังกฤาล่ะ? อย่างที่ผมบอกอะนะครับว่า เราควรเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการฟังก่อน โดยในขณะที่เราฟังนั้นถือว่าเป็นช่วงที่เรากำลังรับข้อมูล (input) นั่นเอง ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาที่เราพูดได้มาตั้งแต่เด็ก ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาอังกฤษเราจึงต้องทำเสมือนว่าเรา คือ เด็กทารกที่เพิ่งออกจากท้องแม่มาใหม่ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็ต้องดูว่าตอนเราเป็นทารกแรกเกิดเราเรียนรู้ภาษาจากอะไรก่อนเป็นอันดับแรก แน่นอนครับ เราเริ่มการเรียนรู้ภาษาจากการฟังครับ ฟังใครกันนะ? ก็ฟังพ่อและแม่ของเรางัยละครับ จริงใหม? ลองคิดดูให้ดีๆ พ่อแม่พูดกับเราทุกวันๆ แต่ตอนนั้นเราก็คงจะพูดยังไม่ได้ เพราะเรายังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะพูดงัยละครับ ดังนั้น เด็กทารกจึงต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มพูดได้ทีละนิดๆ ช่วงเวลานี้เองที่ A.J. Hoge ท่านเรียกว่า Silent Period หมายถึง ช่วงที่เรารับข้อมูลอย่างเดียว และเราควรนำเอาเทคนิคที่ทารกเคยใช้มาใช้กับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบ้าง สำหรับภาษาอังกฤษเราก็หาโหลดไฟล์เสียงภาษาอังกฤษมาฟัง ไม่ว่าจะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ฟังไป แต่ต้องฟังสิ่งที่เราชอบด้วยนะ แต่ผมแนะนำให้โหลดหนังมาดูดีกว่านะครับ เพราะว่า ถ้าดูหนังเราจะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงไปด้วย ถามว่าทำไมล่ะ? ก็ถ้าเราดูหนัง ถึงแม้ว่าเราฟังไม่รู้เรื่อง แต่เราเห็นการแสดงกิริยาอาการของตัวละครในหนัง เราก็พอจะใช้เซ้นเดาได้ว่า อ๋อที่เค้าพูดอย่างนั้นแล้วเค้าทำอย่างนี้ มันหมายความว่าอย่างนี้นะ อะไรประมาณนั้น ก็เหมือนกับตอนที่เราเป็นเด็กแหละครับ ทีแรกเราไม่รู้จักหรอกว่า อะไรคือน้ำดื่ม แต่พอเราได้ยินตอนแม่ป้อนข้าวให้เราแล้ว ถือน้ำดื่นมาแก้วนึง (ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่านั่นคือน้ำดื่ม) แล้วแม่ก็บอกเราว่า อ้าปากลูก เดี๋ยวแม่ให้ดื่มน้ำนะ ในขณะนั้น ตาของเราก็เห็นกิริยาอาการที่แม่ป้อนข้าว ป้อนน้ำให้เรา ในขณะเดียวกัน หู เราก็ได้ยินคำพูดบอว่าดื่มน้ำไปด้วย เราก็จะจดจำสิ่งเหล่านั้นไว้ สั่งสมไว้ทุกวันๆๆๆๆ จนนานเข้าก็เกิดความคุ้นหู คุ้นตา จนในที่สุดเราก็สามารถเข้าใจคำว่า ดื่มน้ำ หมายถึงอะไร ต่อมานะครับ ถามว่าแล้วถ้าเราดูหนังล่ะ ต้องใช้เวลานานเท่าไรในการดูหนังที่เราฟังไม่รู้เรื่อง ก็ต้องขอตอบว่า ก้ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป เหมือนทารกอ่ะนะครับ แต่ต้องดูให้ได้ทุกวันนะครับ (บางคนอาจบอกว่าไม่มีเวลา) ผมขอแนะนำเลยว่า ถ้าคุณคิดว่าไม่มีเวลาก็ให้ทำแบบนี้ครับ ให้เราใช้ชีวิตโดยสร้างจำลองสภาพแวดล้อมของเราให้มีแต่ภาษาอังกฤาสิครับ เห็นประตูนึกถึง Door เห็นบ้านนึกถึง House เป็นต้น ตื่นเช้ามาก็เปิดดูทีวีภาษาอังกฤษ ถ้าคนไม่มีทีวีช่องภาษาอังกฤษก็ หาโหลดหนัง หรือซื้อหนัง เช่าหนัง ที่เป็นเสียงภาษาอังกฤษมาเก็บไว้ดูก้ได้ แต่ขอให้เราได้ยินได้ฟังภาษาอังกฤษให้ได้ทุกวันๆ ทำอย่างนี้ไปประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ผมเชื่อเลยว่าคุณจะรู้สึกว่า ตัวเองฟังภาษาอังกฤาเริ่มออกแล้วไม่มากก็น้อย แม้แต่คนที่ไม่เคยเรียนภาษาอังกฤษมาเลย ทำไมผมถึงกล้าพูดแบบนั้น เคยเห็นไหมครับ ผู้หญิงลุกชาวนาแท้ๆ ได้สามีเป็นฟรั่งเยอะแยะไป บางคนอาจจะแย้งต่อว่า อ้าวก็นั่นเค้าได้อยู่ได้พูดได้คุยกับฝรั่งเจ้าของภาษานิเค้าถึงพูดได้ อันนั้นมันก็จริง แต่ไม่ว่าจะฟังฝรั่งตัวเป็นๆ กับดูหนังฟังภาษาอังกฤษมันก็คือภาษาอังกฤษเหมือนกัน แต่อาจจะมีข้อดีแต่กต่างกันเท่านั้นเอง คือ ถ้าเราได้ใช้ชีวิตอยู่กับฝรั่งตัวเป็นๆ เราก็จะได้ถามตอบได้เมื่อมีข้อสงสัย แต่ถ้าดูหนังเมื่อเราสงสัยก็ได้แต่จดไว้แล้วค่อยนำไปถามคนอื่นอีกที หรือเปิดพจนานุกรม แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรคใหญ่อะไรที่จะขัดขวางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเราครับ ทีนี้ หลังจากที่เราเริ่มฟังรู้เรื่องมากขึ้นแล้วเราก็เริ่มฝึกเขียน A B C ใหม่ แล้วเริ่มเรียนสะกดคำ ให้ตรงกับข้อมูลที่เราได้ยินได้ฟังมา เหมือนกับ เราเข้าอนุบาลอะครับ เราเรียน ก ข ค แล้วเรียน สระ เพื่อมาผสมคำที่เราได้ยินได้ฟังมาทั้งนั้นเลย เช่น กา ตา ยาย เป็นต้น ซึ่งคำเหล่านี้เราก็ได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เราเป็นทารกแล้ว จนเราเริ่มพูดตามได้ เพราะเรามีข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่ขั้นตอนสุดท้ายคือเรา มาเรียนรู้วิธีการเขียนคำที่เราฟัง-พูดเท่านั้นเอง ดั้งนั้น การฟังมาก่อน เมื่อมีข้อมูลจากการได้ยินได้ฟังมาแล้ว เราจึงนำมาพูด เมื่อพูดได้แล้ว เราจึงมาเรียนรู้วิธีการเขียนคำพูดเหล่านั้นออกมาเป็นตัวหนังสือเท่านั้นเอง เมื่อเขียนได้แล้วเราจึงเริ่มเพิ่มพูนความรู้โดยการอ่านๆๆๆๆๆ และก็จะพัฒนาปรับปรุงหลักไวยากรณ์ในการเขียนต่อไปเรื่อยๆ เห็นใหม่ครับ จากที่ผมพูดมาทั้งหมดดูเหมือนว่า จะตรงกันข้ามกับ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบการศึกษาไทย อย่างเห็นได้ชัดเลย
ที่นี้รู้หรือยังว่าทำไมนักเรียนนักศึกษาไทยจึงพูดภาษาอังกฤาไม่ค่อยได้กัน (คนที่พูดได้ก็มีเหมือนกัน แต่ก็เป็นส่วนน้อย คือ ไม่รวมนักเรียนนักศึกษาอินเตอร์ อันนั้นเขาพูดได้อยู่แล้วล่ะ บางคนไปอยู่ต่างประเทศยังพูดไม่ได้ก็มีเยอะแยะไป) ถ้าใครมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากนี้ ก็อย่าลืมนะครับ เชิญแสดงความคิดเห็นกันได้เลยนะครับ ยินดีต้อนรับทุกความคิดเห็นครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
พิมพ์ข้อความที่นี่